top of page

บทที่2 เสียง
จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายการเกิดคลื่นเสียง และการเคลื่อนที่ของคลื่นเสียง

2. อธิบายความหมายของความเข้มเสียง และความสัมพันธ์ระหว่างระยะจากแหล่งกำเนิดเสียงกับความเข้มเสียง

3. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มเสียง และระดับความเข้มเสียง

4. อธิบายระดับความเข้มเสียง และคุณภาพของเสียง

5. อธิบายการได้ยิน

6. ทดลอง และอธิบายการเกิดบีตส์

7. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับมลพิษทางเสียงที่มีต่อสุขภาพมนุษย์

การเคลื่อนที่ของเสียง

เสียงเกิดจากการสั่นของวัตถุต้นกำเนิด คือ เมื่อเราให้งานหรือพลังงานแก่วัตถุต้นกำเนิดเสียง พลังงานของการสั่นจะถ่ายโอนให้กับโมเลกุลของตัวกลางที่อยู่รอบๆ ทำให้โมเลกุลของตัวกลางสั่น แล้วถ่ายโอนพลังงานให้กับโมเลกุลถัดไป มีผลให้คลื่นเสียงแผ่กระจายออกไปโดยรอบแหล่งกำเนิดโดยโมเลกุลของตัวกลางไม่ได้เคลื่อนที่ไปพร้อมกับคลื่นเสียง หลังจากเสียงเคลื่อนที่ผ่านไปแล้วโมเลกุลของตัวกลางแต่ละตำแหน่งยังคงอยู่ที่เดิม นั่นคือ คลื่นเสียงเคลื่อนที่ผ่านโมเลกุลของตัวกลางจะเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์โมนิกในแนวเดียวกับที่การเคลื่อนที่ของเสียง ดังนั้นเสียงจึงเป็นคลื่นตามยาวเมื่อพิจารณาการเคลื่อนที่ของเสียงในอากาศ  ขณะที่เสียงผ่านอากาศโมเลกุลของอากาศจะเกิดการสั่นทำให้เกิดเป็นช่วงอัด (compression) และช่วงขยาย (rarefaction)

 

อัตราเร็วของเสียงขึ้นอยู่กับ 

1. ความหนาแน่น ความหนาแน่นมาก อัตราเร็วมาก 2. ความยืดหยุ่น ความยืดหยุ่นมาก อัตราเร็วมาก 3. อุณหภูมิ อุณหภูมิสูง อัตราเร็วมาก 

 

ความถี่ของคลื่นเสียง

คลื่นเสียงที่สามารถได้ยิน (audible weves) มีความถี่โดยประมาน 20 เฮิรตซ์ถึง 20 กิโลเฮิรตซ์ เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุต่างๆ เช่นการเคาะของแข็ง การดีดเส้นลวด เป็นต้น

- คลื่นเสียงความถี่ต่ำ (infrasonic waves หรือ infrasound) คือ คลื่นเสียงที่มีความถี่ต่ำกว่า 20 เฮิรตซ์ บางครั้งเราเรียกคลื่นเสียงความถี่ต่ำว่า คลื่นใต้เสียง ซึ่งเกิดจากกระแสลมและแผ่นดินไหว

 

คลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasonic waves หรือ ultrasound) คือคลื่นเสียงที่มีความถี่สูงกว่า 20 เฮิรตซ์ บางครั้งเราเรียกคลื่นเสียงความถี่สูงว่า คลื่นเหนือเสียง ซึ่งสามารถสร้างได้จากการสั่นในผลึกบางชนิด หรือพบในสัตว์บางประเภธ เช่น ค้างคาว และ โลมา


การเกิดบีตส์

ปรากฏการณ์บีตส์ของเสียง เกิดจากแหล่งกำเนิดเสียงสองแหล่งที่มีความถี่ต่างกันเล็กน้อย ส่งคลื่นเสียงออกไปทางเดียวกัน คลื่นเสียงมาซ้อนทับกันแบบเสริมและหักล้างสลับกัน ตำแหน่งเสริมและหักล้างไม่อยู่ที่ตำแหน่งเดิม แต่จะเลื่อนไปเรื่อยๆ ทำให้ผู้ฟังที่อยู่นิ่งได้ยินเสียงดังสลับกับเบาผ่านหูเป็นจังหวะต่อเนื่องคงตัว จำนวนครั้งที่ได้ยินเสียงดังในเวลา 1 วินาที่เรียกว่า ความถี่บีตส์ ( fB ) หาความถี่บีตส์ได้จาก สมการ

 

คลิกที่รูปเพื่อดูรูปใหญ่

© 2023 by The Beauty Room. Proudly created with Wix.com

bottom of page